ความหมายของสิทธิมนุษยชน

0 Comments

ความสนใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน มีมากขึ้นอย่างทวีคูณ ในโลกสมัยใหม่และโลกที่เปิดกว้างทางความคิด ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันได้รับการยอมรับมากขึ้น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดขึ้นในปี 2491 หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน นับเป็นการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนถือเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยประเทศไทยออกเสียงสนับสนุน


สิทธิมนุษยชน (Human Rights) มีความหมายตามที่ระบุในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนหมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในแง่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิ เพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษาศาสนา และสถานภาพทางกายและสุขภาพรวมทั้งความเชื่อทางการเมือง หรือความเชื่ออื่นๆที่ขึ้นกับพื้นฐานทางสังคม สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้
ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้แบ่งสิทธิและเสรีภาพออกเป็น 30 หมวด อาทิ สิทธิในการแสวงหาที่ลี้ภัย สิทธิในการมีเสรีภาพจากการทรมาน สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการศึกษา
ในประเทศไทย หน่วยงานที่มีบทบาทในการสนับสนุนให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชน คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ให้ความหมาย สิทธิมนุษยชน (Human Right) ว่าหมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
สิทธิมนุษยชนถือเป็นอารยะธรรมโลก (World Civilzation) ของมนุษย์ที่มีความสำคัญในแง่ของการเป็นหลักประกันของความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องที่สังคมทั่วโลกต้องให้ความสำคัญ ต่อมาได้มรการกำหนด กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) หรือ ICCPR เป็นสนธิสัญญาพหุภาคี ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 สนธิสัญญานี้ให้คำมั่นสัญญาว่าภาคีจะเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของบุคคล ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการชุมนุม สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความอย่างยุติธรรม ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้ในปี พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540

Related Posts

โซเชียลมีเดียมีผลดีอย่างไรต่อสังคมไทยในปัจจุบัน

ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่เป็นอันดับต้นๆ ในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียมากที่สุดในโลก และติดอันดับท็อป 10 ในการจัดอันดับการเล่นแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ดังต่างๆ ทั่วโลก และนี่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโซเชียลมีเดียนั้นจะต้องส่งผลต่อสังคมประเทศไทยในปัจจุบันอย่างแน่นอน เพราะคนไทยสมัยนี้นิยมใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในการทำสิ่งต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน…

พฤติกรรมของ It support แย่ๆที่ทุกคนในบริษัทจะต้องเบะปากใส่

เจ้าหน้าที่ it support ถือเป็นงานหนึ่งที่ต้องทำงานอยู่ภายใต้ความกดดันและเงื่อนไขหลายๆอย่าง ทั้งด้านเทคนิค ด้านเวลา และด้านงบประมาณ ดังนั้น คุณสมบัติที่สำคัญของเจ้าหน้าที่ไอทีนอกจากความสามารถในการแก้ปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆ ก็คือความสามารถในการควบคุมอารมณ์และการมีทัศนคติในทางบวก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถหาพนักงานไอทีที่จะมีความพร้อมทั้งด้านความรู้และอารมณ์ได้เสมอไป จึงทำให้ในบางครั้งคนในองค์กรต้องเจอกับเจ้าหน้าที่ it…